ความคิดดี ไอเดียเจ๋ง 

ตัวอย่างความคิดที่ยกมาต่อไปนี้ การอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอาจจะยังขาดตกบกพร่อง เนื่องจากเหตุผล
บางประการ ผู้จัดทำจึงขออภัยมายังเจ้าของความคิด นอกจากนี้บางความติดก็ยังไม่ได้ขออนุญาต
จากเจ้าของความคิด จึงขออนุญาตมา ณ ที่นี้ และขอขอบพระคุณล่วงหน้าในความกรุณา

18) ต้นเรื่อง : บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก  การรณรงค์ และกิจกรรมต่อต้านการสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่
               ควรส่งเสริมอย่างยิ่ง
     คำถาม : บุหรี่ยี่ห้อต่างๆในท้องตลาดมีสารน้ำมันดิน (tar) อยู่เท่าไร ?
        จาก : โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง Which Cigarette contains the most tar   โดย 
                Meredith  Berdsley,  USA.
17) ต้นเรื่อง : การถนอมอาหารให้มีอายุการเก็บยาวนานวิธีหนึ่งที่นิยมคือการเก็บอาหารในรูปของ
               อาหารกระป๋อง ซึ่งมีหลักการคือ ให้ความร้อนฆ่าเชื้อโรคที่อุณหภูมิสูงหลังนำอาหาร
                   บรรจุกระป๋อง และปิดกระป๋อง  เชื้อโรคในกระป๋องได้ถูกความร้อนกำจัดหมดแล้ว และ
                   กระป๋องได้ถูกปิดแล้ว เชื้อโรคใหม่ไม่สามารถเข้าไปได้ อาหารจึงไม่เน่าเสีย
       คำถาม : ถ้าเราใช้หลักการเดียวกับวิธีทำอาหารกระป๋อง โดยเราใช้ถุงพลัสติกบรรจุอาหารแทน
                  แล้วซีลถุงให้ปิดสนิทนำไปให้ความร้อนด้วยเตาไมโครเวฟ (ซึ่งความร้อนสามารถผ่าน
                  ไปยังอาหารได้มาก) อยากทราบว่าจะถนอมอาหารไว้ได้หรือไม่ ?
          จาก : โครงงานวิทยาศาสตร์ในวิชาเคมีทั่วไป,  มหาวิทยาลัยสยาม,  กรุงเทพมหานคร, 
                  เม.ย.  2544.
16) ต้นเรื่องและคำถาม : การปลูกต้นไม้โดยวิธีเพาะเมล็ด  การฝังเมล็ดไว้ลึกไม่เท่ากันมีผลต่อการเติบ
                                โตของต้นไม้หรือไม่ ?
                        จาก : โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง  Way Down Deep  ของ Joel Talum,  USA.
15) ต้นเรื่อง : พืชและสัตว์สามารถทำให้เกิดการผ่าเหล่าได้  วิธีทำวิธีหนึ่งก็ทำได้ด้วยการฉายรังสี
                  พลังงานสูงไปยังเซลล์ตัวอ่อนที่เกิดใหม่  การผ่าเหล่านี้มีทั้งที่ทำให้เกิดพันธุ์ที่ดีขึ้น และ
                  เลวลง   เครื่องรับโทรทัศน์มีหลอดภาพซึ่งมีรังสีพลังงานสูงเล็ดรอดออกมาได้ที่บริเวณ
                  ด้านหลังของหลอดภาพ
      คำถาม : เป็นไปได้หรือไม่ที่จะปรับปรุงพันธุ์พืชให้ได้ลักษณะแปลกใหม่โดยนำเมล็ดพืชไปอังกับ
                  หลอดภาพ (บริเวณหลังเครื่องรับโทรทัศน์) ?
         จาก :  ดร.  สนอง  ทองปาน,  นนทบุรี,  เม.ย.  2544.
14) ต้นเรื่อง : เมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานครมีฝุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก  สาเหตุเพราะว่ามีสิ่งก่อสร้าง
                  กำลังก่อสร้างอยู่เป็นอันมาก และวิธีการขจัดฝุ่นก็เป็นไปในลักษณะกวาดจากที่นี่ ฟุ้งกระ
                  จายไปที่อื่นข้างเคียงเรื่อยไป
      คำถาม : ฝุ่นน่าจะมีวิธีกำจัดโดยนำมาใช้แทนดินปลูกต้นไม้ได้ ?
          จาก : โครงงานวิทยาศาสตร์วิชาเคมีทั่วไป,  มหาวิทยาลัยสยาม,  กรุงเทพมหานคร, 
                   เม.ย.  2544.
13) ต้นเรื่อง : .ในปากของสัตว์มีแบคทีเรีย และจุลชีพอยู่มากมาย
       คำถาม : ในปากของมนุษย์ และ ปากของสุนัข  ปากของใครมีแบคทีเรียหรือจุลชีพมากกว่า ?
           จาก : โครงงานวิทยาศาสตร์ของ  Jess Zabell,  USA,  May,  1997.
12) ต้นเรื่อง : การหยอดเมล็ดพืชเพื่อเพาะปลูก เป็นงานที่หนักสำหรับเกษตรกรทั้งนี้เพราะเกษตรกร
                  ต้องก้มตัวลงไปขุดดิน  ฝังกลบเมล็ด แล้วเงยขึ้น ทำการปลูกหลุมต่อไป ลักษณะเช่นนี้
                  ทำให้เกิดความเมื่อยล้า  เครื่องทุ่นแรงหรือเครื่องจักรที่มีใช้กันอยู่ ก็มักจะใช้เครื่องยนต์
                  ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงาน  ทั้งๆที่กิจกรรมนี้ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานมาก
      คำถาม : เป็นไปได้หรือไม่ที่จะออกแบบเครื่องหยอดเมล็ดพืชที่วางตำแหน่งหัวหยอดอยู่ที่รอง
                  เท้าของเกษตรกร และใช้พลังงานการทำงานจากพลังงานการเดินของเกษตรกรเท่านั้น ?
          จาก : บรรเทิง ศิลป์สกุลสุข,  กรุงเทพมหานคร,  เม.ย. 2544.
11) ต้นเรื่อง : มะเร็งเป็นโรคร้ายแรงอันดับต้นๆของมนุษย์  ได้มีรายงานว่าสาร antioxidant ตามธรรม
                  ชาติหลายชนิด มีผลในการต่อต้าน และป้องกันโรคมะเร็ง  ที่จริงแล้วมะเร็งสามารถเกิด
                  ขึ้นได้ในพืชด้วยโดยการเหนี่ยวนำจากแบคทีเรียบางชนิด
       คำถาม : สาร เบตา-แคโรตีน (สารมีสีในพืช) ซึ่งเป็นสาร antioxidant สามารถรักษาพืชที่เป็น
                  มะเร็งได้หรือไม่ ?
   วิธีทดลอง : นำพืชมาเหนี่ยวนำให้เป็นโรคมะเร็งโดยใช้แบคทีเรีย Agrobacterium tumefaciens 
                   มาเหนี่ยวนำให้เกิดโรคมะเร็ง  จากนั้นก็รักษาโดยการให้ สาร เบตา-แคโรตีน เข้าไป
                   แล้วเฝ้าดูผล
          จาก :    ---,  USA,  June,  1997.
10) ต้นเรื่อง : ปอดของมนุษย์ทำหน้าที่หายใจ แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระระหว่างเพศชายและ
                  เพศหญิง ระหว่างนักกีฬาและคนทั่วไป
      คำถาม : ขนาดบรรจุของปอดของบุคคลต่างเพศ หรือต่างอาชีพ มีความแตกต่างกันหรือไม่ ?
   วิธีทดลอง : ใช้ภาชนะถัง 2 ใบ ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก    ใบใหญ่ใส่น้ำไว้ก่อนแล้วจึงนำถังใบเล็ก
                  บรรจุน้ำไว้เต็มไปคว่ำใส่ไว้ในถังใบใหญ่  จากนั้นให้บุคคลที่จะวัดขนาดบรรจุของปอด
                   หายใจเข้าเต็มที่ แล้วเป่าลมผ่านสายยางเข้าสู่ภายในถังใบเล็ก  ปริมาณอากาศจะเข้า
                   ไปแทนที่น้ำและสามารถวัดปริมาตรได้
          จาก : โครงงานวิทยาศาสตร์ ของ Mandy Brown,  USA,  July,  1997.
9) ต้นเรื่อง : หูฟังในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ แต่คุณภาพคงจะไม่เหมือนกัน
วิธีทดลอง : ใช้โฟมสร้างศีรษะจำลอง ซึ่งภายในติดตั้งเครื่องวัดเสียงไว้ แล้วนำหูฟังชนิดต่างๆไปสวม
                ให้ศีรษะจำลอง แล้วเปิดเพลงที่โวลุมความดังเดียวกัน  วัดความดังของเสียงเปรียบ
                เทียบกัน
       จาก : โครงงานวิทยาศาสตร์ของ  Vicki  Brown,  USA,  July,  1997.
8) ต้นเรื่อง : วิชาโหราศาสตร์ทำนายอนาคตของคนได้โดยใช้ข้อมูลเวลาเกิด  สัมพันธ์กับตำแหน่งของ
                 ดวงดาวบนท้องฟ้า  พัฒนาการของวิชาโหราศาสตร์เกิดจากการเก็บสถิติข้อมูลการลอง
                 ผิดลองถูกมาเป็นเวลาหลายพันปี แต่ไม่มีการทดลองสร้างเงื่อนไข และออกแบบการ
                 ทดลองเพื่อพิสูจน์เลยจริงๆ
    คำถาม : เป็นไปได้หรือไม่  ถ้าจะทดลองพิสูจน์ความถูกต้องของวิชาโหราศาสตร์โดยทำการทด
                 ลองกับสัตว์ที่มีวงจรชีวิตสั้น เช่น หนูทดลอง ?
       จาก : บรรเทิง ศิลป์สกุลสุข,  กรุงเทพมหานคร,  เม.ย.  2544.
7) ต้นเรื่อง : คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) เครื่องหนึ่งๆ หรือรุ่นหนึ่งๆ สามารถเลือกติดตั้งหน่วยความจำ
                ชนิดแรมได้ตั้งแต่น้อยไปมาก   หน่วยความจำแรมทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้น
                 แต่ก็มีเงื่อนไขว่าขึ้นอยู่กับรุ่นของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมใช้งานว่าจำเป็นจะต้องติด
                ตั้งแรมจำนวนเท่าใด
   คำถาม : ในคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งๆน่าจะมีหลักเกณฑ์แน่นอนในการเลือกใช้แรมน้อยที่สุดเท่าที่
               จะให้ผลตอบแทนการทำงานสูงสุด
       จาก : โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง How much RAM (Random Access Memory) Do You Need
                for Your Computer ?,  USA,  August.  1977.
 
6) ต้นเรื่อง : คลังเก็บน้ำมันปิโตรเลียม  ก๊าซธรรมชาติ   ถ้าอยู่ในตำบลใด  ประชาชนในพื้นที่จะรูสึก
             ไม่ปลอดภัย และทำการต่อต้าน  แต่ถ้าน้ำมันหรือก๊าซปิโตรเลียมถูกส่งไปยังหน่วยเล็กๆ
             ที่พร้อมใช้งาน เช่น เติมในถังน้ำมันรถยนต์ หรือถังก๊าซหุงต้มตามบ้าน ประชาชนจะลด
             ความวิตกกังวลถึงความอันตราย (เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วอันตรายจะเกิดน้อยกว่า
             กรณีที่สารเก็บรวมกันในปริมาณมากๆ) เปรียบเทียบกับกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  ประชา
             ชนในพื้นที่ก็ต่อต้านมากเช่นกัน แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็มีประโยชน์มากเช่นกันคือไม่มี
             ปัญหาการเกิดก๊าซเรือนกระจก และต้นทุนก็ไม่สูง 
    คำถาม : ถ้าพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ให้อยู่ในรูปหน่วยเล็กๆที่แต่ละครัวเรือนนำไปใช้เองได้ อาจ
              จะมีความปลอดภัย และได้รับการยอมรับยิ่งขึ้นเหมือนกรณีเชื้อเพลิงปิโตรเลียม ?
      จาก : บรรเทิง ศิลป์สกุลสุข,  กรุงเทพมหานคร,   เม.ย. 2544
5) ต้นเรื่อง : การต้มน้ำเพื่อให้ได้ไอน้ำมาใช้สำหรับรมโรงเรือนเพาะเห็ด ต้องต้มน้ำจำนวนมากใน
                ภาชนะ แต่ปริมาณไอน้ำที่เกิดขึ้นมีปริมาณขึ้นอยู่กับพื้นผิวของภาชนะ
    คำถาม : ถ้าใช้ภาชนะพื้นที่ผิวเท่าเดิมแต่ลดปริมาณน้ำลง น่าจะผลิตไอน้ำได้เท่าเดิมโดยสามารถ
                ลดการใช้พลังงานหรือเชื้อเพลิงลง
       จาก : ศูนย์สวนเห็ดบ้านอรัญญิก,  พุทธมณฑล,  เม.ย.  2544 
4) ต้นเรื่อง : ต้นไม้และใบไม้ที่เน่าเปื่อยสารอาหารพื้นฐานต่างๆควรจะยังคงอยู่ครบ การปลูกพืชด้วย
                วิธีไม่ใช้ดิน (hydroponic) จะต้องเตรียมน้ำเลี้ยงซึ่งมีธาตุอาหารพืชครบ
    คำถาม : เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเตรียมน้ำเลี้ยงพืช hydroponic จากน้ำหมักพืชเน่า โดยไม่ต้องเพิ่ม
                สารอาหารอื่น
       จาก : บรรเทิง ศิลป์สกุลสุข,   กรุงเทพมหานคร,  เม.ย. 2544
3) ต้นเรื่อง :  สงสัยว่าการดื่มโคคาโคลาร้อนๆจะเป็นอย่างไร ?  
    วัตถุประสงค์ :  อาจได้รสชาดที่อร่อย หรือเป็นที่นิยมมากขึ้น
               จาก :  --,  นิวซีแลนด์,  14 ส.ค. 1997
2) ต้นเรื่อง : เครื่องมือทันสมัยในการเรียนการสอน การแสดงผลงานต่อผู้ชม ได้แก่ เครื่องชี้เลเซอร์ 
                (laser pointer) ซึ่งทำงานโดยปลดปล่อยลำแสงเลเซอร์สีแดงไปยังจอหรือฉากที่แสดงงาน
                เพื่อชี้ข้อมูลต่างๆ เนื่องจาก 8 % ของผู้ชายในอเมริกา ( 5 ล้านคน) เป็นโรคตาบอดสี และ
                ส่วนใหญ่จะมีอาการบอดสีแดง-เขียว นอกจากนั้นคนทั่วไปบางคนยังแยกแยะสีแดงได้
                ไม่ดี
  คำถาม :  เครื่องชี้เลเซอร์สามารถออกแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ ? รูปร่างที่ต่าง
               ออกไป และ/หรือ สีที่ควรใช้ ?
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานของเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อคนจำนวนมาก
           จาก : บทความ How to Produce an Award Winning Science and Engineering 
               Fair  Project.    โดย Lynda Manning-Schwartz
1) ต้นเรื่อง : เหนือขั้วโลกใต้เกิดรูบนชั้นโอโซน ซึ่งชั้นโอโซนได้ป้องกันโลกจากการทำลายของรังสีรุน
                 แรงจากดวงอาทิตย์ เมื่อเร็วๆนี้ก็พบรูโอโซนทำนองเดียวกันเหนือขั้วโลกเหนือ  มีข้อโต้
                 แย้งระหว่าง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งพยากรณ์ภัยพิบัติของโลกอย่าง
                 รุนแรง และฝ่ายนายทุนนักธุระกิจที่กล่าวว่านักอนุรักษ์พูดเกินจริงเกี่ยวกับภัยพิบัติที่จะ
                เกิดขึ้น
   คำถาม : ปัญหารูบนชั้นโอโซนมีอันตรายร้ายแรงจริงหรือ ?
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาว่าจะมีอันตรายจากรูบนชั้นโอโซนต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกหรือไม่ ?
                    ถ้ามี จะรุนแรงขนาดไหน ?
          จาก : บทความ How to Produce an Award Winning Science and Engineering 
              Fair Project.    โดย Lynda Manning-Schwartz  

[ไปหน้าแรก]     [ไปต้นเรื่อง]